มายาคติกับความเชื่อทางวัตถุในพุทธศาสนา

มายาคติกับความเชื่อทางวัตถุในพุทธศาสนา
วัตถุต่างๆที่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับศาสนา ย่อมมีมายาคติเกิดขึ้นควบคู่กันไปเสมอ เพราะมายาคติ คือ “การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมแต่ถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ" รวมถึงการทำงานของมายาคติ คือ “การเข้าไปครอบงำความหมายเชิงผัสสะและประโยชน์ใช้สอยของสรรพสิ่ง แล้วทำให้มันสื่อความหมายใหม่ในอีกระดับหนึ่งซึ่งเป็นความหมายเชิงค่านิยมและอุดมการณ์”

วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำเปลวกับองค์พระพุทธรูป


ความสัมพันธ์ระหว่างทองคำเปลวกับพื้นที่รองรับที่เป็นองค์พระพุทธรูป ในส่วนนี้จะเป็นการสะท้อนในเรื่องของมูลค่ากับคุณค่า กล่าวคือ ทองคำเปลวด้วยตัวมันเองเป็นวัตถุที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ มีมูลค่าภายในตัวมันเอง แต่ถ้าไปอยู่บนพื้นที่รองรับอื่น อาทิ องค์พระพุทธรูป ความเป็นวัตถุนี้จะถูกลดบทบาทของตัวมันเองลง เนื่องเพราะทองคำเปลวจะเปลี่ยนบทบาทของตนเองไปรับใช้สิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า ทองคำเปลวในบริบทหลังนี้มีคุณค่าทางจิตใจมากกว่าเป็นเรื่องของมูลค่า



ผู้เขียนได้ให้ทัศนะ ความหมายของทองคำเปลวว่าเป็น วัตถุสื่อกลาง ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม ตัวเทียบแย้ง (Oppose)ระหว่างโลกสองโลก (โลกียะ-โลกุตระ) ระหว่างพิธีกรรมกับธรรม ระหว่างมูลค่าในตัววัตถุกับคุณค่าของพื้นที่รองรับ ทั้งยังเป็นการศึกษาถึง คุณค่า หน้าที่ ความหมายของตัวทองคำเปลว จากทางความเชื่อเป็นระดับความเข้าใจ เป็นสุนทรียใหม่ ที่รับรู้ได้ถึงความหมาย ความงามอันจริงแท้ของตัววัตถุ ด้วยการเปลี่ยนที่อยู่ของตัวทองคำเปลวจากภายในบริเวณวัด หรือตามส่วนต่างๆขององค์พระปฏิมา มาอยู่ในหอศิลป์ อยู่บนงานศิลปะที่เป็น Contemporary Painting



**การเทียบแย้ง (Oppose) คือ “การนำเอาวัตถุหรือปรากฏการณ์หนึ่งไปเทียบแย้งกับวัตถุหรืออีกปรากฏการณ์หนึ่ง (บางครั้งก็เป็นสภาวะเดียวกัน) การเทียบแย้งนี้ทำหน้าที่เผยแสดงคุณลักษณะเด่นที่เป็นปัจจัยของการสื่อความหมายในสิ่งนั้นๆให้ปรากฏออกมา โดยถ้าไม่มีการเทียบแย้งคุณลักษณะนั้นๆก็อาจจะแฝงอยู่ในรูปของศักยภาพหรือไม่เป็นที่สังเกตเห็น” Roland Barthes**

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น