มายาคติกับความเชื่อทางวัตถุในพุทธศาสนา

มายาคติกับความเชื่อทางวัตถุในพุทธศาสนา
วัตถุต่างๆที่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับศาสนา ย่อมมีมายาคติเกิดขึ้นควบคู่กันไปเสมอ เพราะมายาคติ คือ “การสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมแต่ถูกกลบเกลื่อนให้เป็นที่รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ" รวมถึงการทำงานของมายาคติ คือ “การเข้าไปครอบงำความหมายเชิงผัสสะและประโยชน์ใช้สอยของสรรพสิ่ง แล้วทำให้มันสื่อความหมายใหม่ในอีกระดับหนึ่งซึ่งเป็นความหมายเชิงค่านิยมและอุดมการณ์”

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ตามกำลังสัตว์ทา








5 ความคิดเห็น:

  1. อะไรคือความกลัว อะไรคือโคลงสร้างของความกลัว อะไรคือปัญญา
    อะไรคือสิ่งที่ทำให้เข้าใจและรู้จักกับความกลัว

    คุณคงเคยได้ยินคำที่ว่าการตั้งคำถามเป็นเรื่องที่ยากที่สุด แต่คุณจะเคยสังเกตไหมว่าหลายคนมักตั้งคำถามและต้องการคำตอบจากคนอื่น จะมีสักกี่คนคะที่เคยสงสัยในความคิดเห็นของตัวเองสงสัยในข้อสรุปของตัวเองหาคำตอบให้ตัวเองโดยไม่ต้องอิงสิ่งอื่น...ไม่ฟังสิ่งอื่นคำพูดของคนอื่น ความเข้าใจของคนอื่น เปิดประตูเข้าสู่ปัญหาด้วยหัวใจ ด้วยผัสสะด้วยทั้งหมดของความรู้สึกโดยไม่พยายามหนี

    มันเป็นเรื่องง่ายเหลือเกินที่เราจะรู้สึกอ่อนไหวต่อสิ่งที่สัมพันธ์กับเราอย่างลึกซึ้ง และสิ่งนั้นก็คือความกลัว คุณอาจบอกว่านั่นคือความเชื่อ แน่นอนถูกต้อง แต่นั่นเป็นการพูดในความคิดที่คุณชอบและนั้นคุณกำลังบ่มเพาะเสรีภาพจากการพึ่งพึง หากแต่มิได้มีเสรีภาพที่แท้จริงไม่

    เราพึ่งพิงคนอื่นทางจิตใจเราต้องการคำตอบทางจิตใจ เราแสวงหาพระผู้ไถ่ เราต้องการทฤษฎีหล่อเลี้ยงความกลัว แต่เราไม่เคยถามถึงความจำเป็นทางใจของประสบการเหล่านั้น

    เรายอมรับทฤษฎีต่างๆว่าจะทำให้เราหลุดพ้นจากความโศก ว่าเป็นหนทางสู่นิพพาน แต่เราไม่เคยทำให้เราว่างเปล่า เราสะสมบ่มเพาะประสบการณ์ต่างๆนาและเราก็ทึกทักว่าเป็นวิถีทางแห่งปัญญาเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้เป็นนิพพานเป็นความเข้าใจเป็นความปีติสุข

    ใจเราจะสุขได้หรือถ้าคุณยังรู้จักความกลัวขณะที่ในทางตรงข้ามหัวใจที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสาเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงปีติสุขได้ เพราะเขาไม่รู้จักความกลัว ดุจดังเด็กน้อยไร้เดียงสาที่โคลงเคลงเรือไปมาด้วยความสนุกสนานเพราะเค้าไม่เคยรู้ว่าการกระทำนั้นจะเป็นประสบการณ์แห่งความกลัวของตัวเค้าเอง
    "นี่คือคำถามนี่คือความคิดเห็นเชิงปรัชญาซึ่งบางครั้งมันอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของความสงสัยนะคะและมันก็เป็นหน้าที่ ที่เราต้องสืบค้นหาคำตอบด้วยกันต่อไป"

    ..วัคซีน..

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ22 กันยายน 2553 เวลา 10:37

    เมื่อความกลัวเป็นโครงสร้างของในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ศรัทธา หรือกรอบความคิดว่าด้วยเรื่องนิพพาน ฉะนั้นเเล้วความกลัวจึงมีคุณเเละประโยชน์อย่างยิ่งต่อชีวิตเเละหัวใจ

    เมื่อคุณตั้งคำถามขึ้นว่าอะไรคือความกลัว ความกลัวมีที่มา โครงสร้างอย่างไร สิ่งหนึ่งที่คุณจะได้จากคำถามนี้คือกรอบความคิดที่ว่าด้วยความกลัวนั้นได้มีรูปร่างหน้าตาของคุณเเล้วในจิตใจคุณ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคำตอบอื่นใดจากผู้อื่น เพราะคุณเคยมีประสบการณ์ต่างๆที่เคย "กลัว" คุณจึงทราบคำตอบของในสิ่งที่เรียกว่าความกลัว ในสิ่งที่ตอบนั้นอาจมิใช้คำตอบที่เป็นจากจิตเเต่อาจเป็นคำตอบจากประสบการณ์ของคุณเเละหรือผมเอง ฉะนั้นเเล้วความกลัวจึงมีที่มา ที่ไปจากภาวะของปรากฏการณ์ที่ได้สัมพัส ได้เกิดความรู้สึกต่างๆกับมันถ้าเราไม่รู้จักมันมาก่ิอนเราก็มิอาจกลัวสิ่งๆนั้นได้

    เมื่อเราเองเกิดประสบการณ์เเห่งความกลัวเเล้วสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นคือการหยั่งรู้ในเรื่องหรือในสิ่งต่างๆที่เคยกลัว เช่นประสบการณ์ต่างๆในชีวิตที่ทำให้เราเคยกลัว เมื่อคุณเคยกลัวเเล้ว คุณจะมีกรอบหรือกำเเพงต่อสิ่งๆนั้น เเละคุณก็จะสามารถสร้างความสุขได้จากประสบการณ์เเห่งความกลัวด้วยเครื่องมือที่เป็นการหยั่งรู้ ที่มีการยับยั้งชั่งใจ ที่จะกระทำการใดๆ (ไม่ประมาท) ซึ่งในกาลนี้ความกลัวอาจไม่ใช้คำตอบของความสุข หรือนิพพาน เเต่ความกลัวได้เป็นบันไดขั้นเเรกเเห่งปัญญา ที่จะพาเราไปหาเเสงสว่าง

    "เพราะสำหรับข้าพเจ้าเเล้วความกลัวที่มีศักภาพมากที่สุดมิได้เป็นความกลัวที่จะไม่ได้พบความปิติสุข เเต่เป็นความกลัวที่ไม่ได้กลัวที่จะมีความสุขด้วยหัวใจของตน"

    zeen

    ตอบลบ
  3. ความเห็นที่2นี้ของ ซีนจริงๆหรือ กระบวนการคิดยังมีช่องว่าง ตีความหมายไม่ขาด ระหว่างความกลัวทำให้เกิดการหยั่งรู้กับความกลัวทำให้เกิดการหนี ประหม่า หาที่พึ่งพิง อย่างไหนน่าจะเป็นโคลงสร้างที่เเลเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่ากัน???

    ตอบลบ
  4. ใช้ครับผมซีนจริงๆ
    ก็ต้องขอขอบคุณนะครับที่มีcomment ในประเด็นเรื่องความกลัว เเละในcomment นั้นได้เเสดงให้เห็นว่าในความคิดของผมยังมี"ช่องว่าง"อยู่ซึ่งอาจเป็นความจริงก็ได้ เเต่ผมจะนำ"ช่องว่าง"นั้นมาสร้า้งเสรีภาพในการคิดสิ่งต่างๆของผมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นนะครับ หวงว่าเราจะมาถกประเด็นนี้ในโอกาสต่อไปนะครับ
    ขอบคุณครับ
    zeen

    ตอบลบ
  5. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ